animate animate animate animate animate animate animate animate animate animate animate animate animate animate
สถานที่ท่องเที่ยวในภาคใต้

ของดีประจำจังหวัดสงขลา


ของดีประจำจังหวัดสงขลา
 ผ้าทอเกาะยอ                                                                                
               ผ้าทอเกาะยอหรือ ผ้าเกาะยอ เป็นผ้าทอพื้นเมืองของตำบลเกาะยอ อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา เป็นผ้าพื้นเมืองที่มีชื่อเสียงของจังหวัดสงขลา
ที่มีความประณีตและสีสันที่สวยงาม โดยมีการทอยกดอกที่มีลวดลายอ่อนนุ่ม ถือเป็นสัญลักษณ์หัตถกรรมพื้นบ้านของภาคใต้และยังเป็นสุดยอดผลิตภัณฑ์หนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ OTOP ปี 2549 สืบสานตำนานจากชาวเกาะยอ
ที่ส่วนหนึ่งอพยพมาจาก ตำบลน้ำน้อย อำเภอหาดใหญ่ และตำบลทุ่งหวัง อำเภอเมืองสงขลา มีเชื้อสายจีน ทำอาชีพทำสวนยาง สวยผลไม้ และ
งานหัตถกรรมพื้นบ้าน คือการทอผ้าพื้นเมืองสำหรับใช้ในครัวเรือน จึงเป็นที่มาของ "ผ้าทอเกาะยอ” ไม่มีหลักฐานที่ปรากฏแน่ชัดว่า ชาวเกาะยอ เริ่มทอผ้ากันตั้งแต่เมื่อไหร่ แต่ทราบว่าที่เกาะยอมีการทอผ้ามานับเป็นร้อยๆปีแล้ว ตั้งแต่เมื่อครั้งที่มีการอพยพมาตั้งถิ่นฐานทำมาหากินอยู่บนเกาะยอสืบสานการถ่ายทอดภายในครอบครัวเรื่อยมา



  หนังตะลุง
               หนังตะลุงที่มีแสดงอยู่โดยทั่วไปในภาคใต้นั้น ยังหาข้อยุติที่แน่ชัดลงไปไม่ได้ว่า มีความเป็นมาอย่างไร  บางท่านก็กล่าวว่าได้รับอิทธิพลมาจากชวา มลายู  บางท่านกล่าวหนังตะลุงในภาคใต้นี้มีขึ้นครั้งแรกที่จังหวัดพัทลุง คนทั่วไปจึงเรียกหนังตะลุงที่มาจากพัทลุงว่าหนังพัทลุง หรือหนังพัดลุ จนกลายมาเป็นหนังลุงหรือหนังตะลุง


ข้าวเกรียบกุ้ง
               ข้าวเกรียบกุ้ง-ปลาของสงขลา เป็นผลิตภัณฑ์พื้นเมืองที่มีชื่อเสียงในภาคใต้ นอกจากนี้ ยังมีน้ำบูดู เม็ดมะม่วงหิมพานต์
กุ้งแก้ว ฯลฯ ซึ่งจะหาซื้อได้จากร้านค้าบริเวณถนนนครใน อำเภอเมือง


 เมล็ดม่วงหิมพานต์                                                                              
               กลุ่มสตรีบ้านชะแม ได้เริ่มดำเนินการกลุ่มตั้งแต่ปี พ.ศ.2541 โดยมีนางบุญญา ชุมแสง เป็นประธานกลุ่มฯ ได้นำวัฒนธรรมในการบริโภคเมล็ดมะม่วงหิมพานต์ มาดัดแปลงเป็นเมล็ดมะม่วงหิมพานต์แผ่นเพื่อส่งจำหน่าย จนเป็นที่รู้จักของคนทั่วไป ต่อมาได้มีการพัฒนารูปแบบของบรรจุภัณฑ์ตามความต้องการของลูกค้า จนได้รังการคัดสรรสุดยอดผลิตภัณฑ์ ระดับประเทศ (5 ดาว)
ประจำปี 2547 ปัจจุบันกลุ่มสตรีบ้านชะแม ได้ดำเนินการผลิตขนมพื้นเมืองหลายชนิดด้วยกัน ได้แก่ ขนมโก๋ ขนมงา ขนมนางเล็ด

 กุ้งแก้ว                                                                                              
               กุ้งแก้วเป็นสินค้าพื้นเมืองที่มีชื่อเสียงของอำเภอปากพะยูน มานามเนื่องจากกุ้งทะเลสาบปากพะยูน เป็นกุ้งน้ำกร่อย เนื้อกุ้งมีรสหวาน สามารถนำไป
แปรรูปได้หลากหลายชนิด เช่น กุ้งแก้ว กุ้งไม้ กุ้งเสียบ   กุ้งหวาน ผู้บริโภคนิยมรับประทานและเป็นของฝากกุ้งแก้วเป็นการถนอมอาหารที่เกิดจากภูมิปัญญาของคนอำเภอปากพะยูน ที่ต้องการแปรรูปและเพิ่มมูลค่าให้กับกุ้งขาว ซึ่งเป็นกุ้งที่มีมากในทะเลสาบปากพะยูน ที่ชาวประมงจับขึ้นมาขายเป็นกุ้งสดแล้วยังมีกุ้งเหลือเป็นจำนวน จึงคิดหาวิธีในการรักษากุ้งไว้บริโภคได้นาน จึงได้คิดวิธีในการทำกุ้งแก้วขึ้น จากการทำกุ้งไม้กุ้งริ้วที่มีการทำกันอยู่แล้ว ทำให้ได้ผลิตที่มีลักษณะ เป็นมันแววเหมือนแก้ว มีรสหวานเนื้อกุ้ง จึงได้ตั้งชื่อว่า “กุ้งแก้ว”

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

บทความที่ได้รับความนิยม