animate animate animate animate animate animate animate animate animate animate animate animate animate animate
สถานที่ท่องเที่ยวในภาคใต้

วันพุธที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2560

สถานที่ท่องเที่ยวจังหวัดนราธิวาส




       วนอุทยานอ่าวมะนาว ตั้งอยู่หมู่ที่ 1 ตำบลกะลุวอเหนือ ตามทางหลวงหมายเลข 4084 (นราธิวาส-ตากใบ) ประมาณ 3 กิโลเมตร และมีทางแยกไปสู่หาดอีก 3 กิโลเมตร เป็นชายหาดที่ยาวต่อเนื่องจากชายฝั่งทะเลด้านตะวันออกของจังหวัดปัตตานี เป็นโค้งอ่าวเชื่อมต่อกัน ยาวประมาณ 4 กิโลเมตร มีโขดหินคั่นสลับโค้งหาดเป็นระยะ ด้านหนึ่งติดพระตำหนักทักษิณราชนิเวศน์ บริเวณริมหาดมีสวนรุกขชาติ และทิวสนร่มรื่นเหมาะแก่การพักผ่อน มีเส้นทางศึกษาธรรมชาติป่าชายหาด (beach forest) ระยะทางประมาณ 1 กิโลเมตร พันธุ์ไม้ที่พบจะเป็นไม้ที่ชอบความแห้งแล้ง เช่น จักทะเล มะนาวผี เตยทะเล (ผลมีหน้าตาคล้ายสับปะรด) เป็นต้น หากใครอยากพักค้างคืนมีบ้านพักของเอกชนในบริเวณใกล้เคียงให้บริการ



น้ำตกฉัตรวาริน
น้ำตกฉัตรวาริน อยู่ที่ตำบลโต๊ะเด็ง ไม่ไกลจากตัวเมือง ไปตามทางหลวงหมายเลข 4056 ถึงโรงพยาบาลสุไหงปาดีแล้วเลี้ยวซ้ายไปตามถนนอีก 6 กิโลเมตร ทางเข้าลาดยางตลอด อยู่ในพื้นที่อุทยานแห่งชาติบูโด-สุไหงปาดี เป็นน้ำตกขนาดกลาง มีน้ำตลอดทั้งปี สภาพแวดล้อมร่มรื่นด้วยพันธุ์ไม้นานาชนิด
พันธุ์ไม้เด่นของที่นี่คือ ปาล์มบังสูรย์ ซึ่งเป็นไม้หายากพบในบริเวณป่าลึกที่ความสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 1,800 เมตร มีถิ่นกำเนิดในประเทศมาเลเซีย ลักษณะเป็นไม้ลำต้นเตี้ยๆ แต่แตกก้านออกเป็นกอใหญ่ สูงท่วมหัว สามารถสูงได้ถึง 3 เมตร ใบแผ่กว้างทรงสี่เหลี่ยมข้าวหลามตัด มีเส้นใบเรียงกันเป็นระเบียบสวยงาม ได้รับการยกย่องจากทั่วโลกว่าเป็นปาล์มที่สวยงามที่สุด ซึ่งจะพบในป่าแถบนี้เท่านั้น ชื่อ “ปาล์มบังสูรย์” ตั้งโดยศาสตราจารย์ประชิด วามานนท์ ที่ปรึกษาโครงการส่วนพระองค์ เมื่อครั้งท่านเดินทางมาสำรวจพื้นที่แถบนี้ ได้พบปาล์มชนิดนี้ปลูกอยู่ในหมู่บ้านมุสลิม ศาสตราจารย์ประชิดเห็นว่าใบของปาล์มชนิดนี้มีลักษณะคล้าย “บังสูรย์” เครื่องสูงที่ใช้บังแดดในพิธีแห่จึงนำมาตั้งเป็นชื่อปาล์มดังกล่าว ส่วนภาษาท้องถิ่นเรียกว่า
บูเก๊ะอีแป แปลว่าตะขาบภูเขา น่าจะมาจากส่วนช่อดอกที่คล้ายตัว


อุทยานแห่งชาติเทือกเขาบูโด – สุไหงปาดี สมัยก่อนเทือกเขาบูโด-สุไหงปาดี เป็นส่วนหนึ่งของทิวเขาสันกาลาคีรีที่แบ่งเขตแดนไทย-มาเลเซีย เคยเป็นที่ซ่องสุมของผู้ก่อการร้าย จึงไม่ค่อยมีผู้ใดเข้ามาสัมผัสความมหัศจรรย์ของผืนป่าดงดิบแห่งนี้ เมื่อสถานการณ์คลี่คลายลง ในปี พ.ศ. 2517 กรมป่าไม้จึงจัดตั้งวนอุทยานน้ำตกปาโจ และกลายมาเป็นอุทยานแห่งชาติบูโด-สุไหงปาดี ซึ่งมีพื้นที่ประมาณ 294 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของนราธิวาส ยะลา และปัตตานีเทือกเขาบูโดนี้จัดเป็นส่วนหนึ่งของป่าดิบร้อนแบบอินโด-มาลายัน ป่าดิบชื้นเขตร้อนซึ่งมีความชื้นสูงเพราะมีน้ำฝนตกตลอดปี และเป็นป่าที่มีความหลากหลายทางชีวภาพมากที่สุด เมื่อเทียบกับป่าประเภทอื่นในพื้นที่เท่าๆ กัน ป่าเขตร้อนนี้จะพบเฉพาะแนวเส้นศูนย์สูตร คือ พื้นที่ระหว่างเส้นทรอปิคออฟแคนเซอร์ที่ 23 [1/2] องศาเหนือและใต้ ในประเทศไทยจะอยู่ในช่วงคอคอดกระจังหวัดระนองลงไป นักพฤกษศาสตร์แบ่งป่าเขตร้อนทั่วโลกออกเป็นสามเขตใหญ่ คือ ป่าฝนเขตร้อนทวีปอเมริกา ป่าฝนเขตร้อนแถบอินโด-มาลายัน และป่าเขตร้อนแถบทวีปแอฟริกา
       พันธุ์ไม้เด่นของที่นี่คือ “ใบไม้สีทอง” หรือ “ย่านดาโอ๊ะ” เมื่อปี พ.ศ. 2531 พันธุ์ไม้ชนิดนี้ถูกค้นพบเป็นครั้งแรกในโลกที่นี่ ใบไม้สีทองเป็นไม้เลื้อย มีลักษณะใบคล้ายใบชงโคหรือใบเสี้ยว แต่มีขนาดใหญ่กว่ามาก บางใบใหญ่กว่าฝ่ามือเสียอีก มีขอบหยักเว้าเข้าทั้งที่โคนใบ และปลายใบ ลักษณะคล้ายวงรีสองอันอยู่ติดกัน ทุกส่วนของใบจะปกคลุมด้วยขนกำมะหยี่เนียนนุ่ม มีสีทองหรือสีทองแดงเหลือบรุ้งเป็นประกายงดงามยามต้องแสงอาทิตย์ สามารถมองเห็นได้จากระยะไกล หากขึ้นในที่ที่มีความชื้นสูงลักษณะของใบจะยิ่งนุ่มหนาตามไปด้วย เมื่อใบใหญ่เต็มที่ จึงเริ่มเปลี่ยนเป็นสีบรอนซ์เงิน หรือเขียวในที่สุด ช่อดอกสีขาวของย่านดาโอ๊ะก็เตะตาไม่แพ้กัน ใกล้ๆ สำนักงานอุทยานฯ ก็มีอยู่ต้นหนึ่งให้ชื่นชม และยังมีพันธุ์ไม้ที่สำคัญ หายาก มีราคาแพง และกำลังจะสูญพันธุ์ คือ “หวายตะค้าทอง”
       สัตว์ป่าหายากที่เคยพบในบริเวณนี้คือ แรด ชะนีมือดำ สมเสร็จ และเลียงผา และที่สำคัญ คือ ค่างแว่นถิ่นใต้ มีถิ่นอาศัยอยู่ในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทางตอนใต้ของพม่า ภาคใต้ของประเทศไทย ไปจนถึงมาเลเซียและหมู่เกาะใกล้เคียง มักอาศัยอยู่ตามภูเขาสูงชันและป่าดงดิบ อยู่รวมกันเป็นฝูงประมาณ 30-40 ตัว มีตัวผู้ที่แข็งแรงที่สุดเป็นจ่าฝูง ปกตินิสัยขี้อาย กลัวคน ไม่ก้าวร้าวดังเช่นลิง (นอกจากค่างแว่นถิ่นใต้แล้ว ในประเทศไทยยังพบค่างอีกสามชนิด ได้แก่ ค่างดำ ค่างหงอก และค่างแว่นถิ่นเหนือ ในปัจจุบันค่างทั้งสี่ชนิดถูกจัดให้เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่มีสถานภาพถูกคุกคาม)  ในอุทยานฯมีน้ำตกอยู่หลายแห่ง เช่น น้ำตกภูแว น้ำตกปาโจ และน้ำตกปากอ แต่ที่รู้จักกันทั่วไป นักท่องเที่ยวเข้าถึงได้สะดวก คือ “น้ำตกปาโจ” เป็นน้ำตกที่มีลักษณะเป็นหน้าผาสูงกว้าง คำว่า “ปาโจ” เป็นภาษามลายูท้องถิ่นมีความหมายว่า “น้ำตก” ที่น้ำตกปาโจนี้มีทางขึ้นไปสู่ต้นน้ำเป็นชั้นๆ รวม 9 ชั้น นับว่าเป็นน้ำตกที่ใหญ่ที่สุดในจังหวัดและสวยงามแห่งหนึ่งของภาคใต้ แต่เนื่องจากสภาพป่าโดยรอบไม่สมบูรณ์นัก ในหน้าแล้งน้ำจึงค่อนข้างน้อย  นอกจากน้ำตกยังมีสถานที่น่าสนใจอื่นๆ ได้แก่ ศาลาธารทัศน์ ซึ่งเคยเป็นพลับพลาที่ประทับของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ในคราวเสด็จประพาสจังหวัดนราธิวาส และยังมีก้อนหินสลักพระปรมาภิไธยตั้งอยู่ในบริเวณน้ำตกปาโจด้วย ฤดูท่องเที่ยวที่นี่ตลอดทั้งปี
      การเดินทาง  อยู่ห่างจากตัวจังหวัดนราธิวาส 26 กิโลเมตร ใช้ทางหลวงหมายเลข 42 ไปยังอำเภอบาเจาะถึงบริเวณสี่แยกเข้าตัวอำเภอ ให้เลี้ยวเข้าไปตามถนนอีกประมาณ 2 กิโลเมตร ถึงที่ทำการอุทยานฯ

วนอุทยานอ่าวมะนาว ตั้งอยู่หมู่ที่ 1 ตำบลกะลุวอเหนือ ตามทางหลวงหมายเลข 4084 (นราธิวาส-ตากใบ) ประมาณ 3 กิโลเมตร และมีทางแยกไปสู่หาดอีก 3 กิโลเมตร เป็นชายหาดที่ยาวต่อเนื่องจากชายฝั่งทะเลด้านตะวันออกของจังหวัดปัตตานี เป็นโค้งอ่าวเชื่อมต่อกัน ยาวประมาณ 4 กิโลเมตร มีโขดหินคั่นสลับโค้งหาดเป็นระยะ ด้านหนึ่งติดพระตำหนักทักษิณราชนิเวศน์ บริเวณริมหาดมีสวนรุกขชาติ และทิวสนร่มรื่นเหมาะแก่การพักผ่อน มีเส้นทางศึกษาธรรมชาติป่าชายหาด (beach forest) ระยะทางประมาณ 1 กิโลเมตร พันธุ์ไม้ที่พบจะเป็นไม้ที่ชอบความแห้งแล้ง เช่น จักทะเล มะนาวผี เตยทะเล (ผลมีหน้าตาคล้ายสับปะรด) เป็นต้น หากใครอยากพักค้างคืนมีบ้านพักของเอกชนในบริเวณใกล้เคียงให้บริการ

ศาลเจ้าแม่โต๊ะโมะ ตั้งอยู่ที่ซอยภูธร ถนนเจริญเขต ในเขตเทศบาลตำบลสุไหงโกลก เดิมทีเจ้าแม่โต๊ะโมะนี้ประดิษฐานอยู่ที่บ้านโต๊ะโมะ อำเภอสุคิริน ต่อมาชาวบ้านได้อัญเชิญมาประดิษฐานที่อำเภอสุไหงโกลก เป็นที่นับถือของชาวสุไหงโกลก และชาวจังหวัดใกล้เคียง รวมทั้งชาวจีนในประเทศมาเลเซียเป็นอย่างมากทุกๆ ปี จะมีการจัดงานประเพณีประจำปีที่บริเวณศาลเจ้า ตรงกับวันที่ 23 เดือนสามของจีน (ประมาณเดือนเมษายน) ในงานจะมีกิจกรรมมากมาย เช่น มีการจัดขบวนแห่เจ้าแม่ ขบวนสิงโต ขบวนเองกอ ขบวนกลองยาว และยังมีการลุยไฟด้วย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

บทความที่ได้รับความนิยม