animate animate animate animate animate animate animate animate animate animate animate animate animate animate
สถานที่ท่องเที่ยวในภาคใต้

ของดีประจำจังหวัดตรัง



ของดีประจำจังหวัดตรัง


                                            หมูย่างตำหรับเมืองตรัง   เป็นอาหารที่เชิดหน้าชูตา  ชาวเมืองตรัง  ต้นกำเนิดของหมูย่างเกิดขึ้นในประเทศจีนสมัยราชวงศ์ถังการค้นพบวิธีการย่างหมูนั้นเป็นการบังเอิญ  คือ  ในขณะที่พ่อครัวกำลังปรุงอาหารได้ทำหมูชิ้นหนึ่งตกลงในเตาถ่านจนเนื้อสุกและหนังไหม้พ่อครัวได้ลองหยิบมาชิม จึงรู้ว่าหมูมีรสกรอบ และอร่อยกว่าเดิม  เขาจึงเริ่มมีความคิดว่ารนำหมูมาย่างเป็นอาหารน่าจะอร่อย พ่อครัวจึงได้ทดลองนำหมูย่างและนำขึ้นถวายฮ๋องเต้ ปรากฎว่าฮ่องเต้ ทรงโปรดมาก เนื่องจากหมูเมื่อย่างสุกพอเหมาะ  หนังจะมีสีเหลืองดุจทองคำสุกอร่าม   ฮ่องเต้  จึงตั้งชื่อหมูย่างนี้ว่า  “หมูทอง” หมูย่างจังหวัดตรัง  จึงเป็นมรดกที่ตกทอดมาครั้งอดีตจากอาหารจานโปรดของฮ่องเต้สู่สามัญชนและได้รักษา เอกลักษณ์ไว้                              


                                            เค้กเมืองตรัง “เมืองตรัง” ได้ขึ้นชื่อว่าเป็นเมืองของคนช่างกิน และเมื่อเอ่ยถึงเมืองตรังของกินที่ขึ้นชื่อก็คงจะเป็น หมูย่างเมืองตรัง หรือติ่มซำ อาหารเช้ายอดฮิตตลอดกาลของคนตรัง  แต่นอกจากหมูย่างเมืองตรังที่ขึ้นชื่อแล้ว จังหวัดตรังยังมีของหวานอีกอย่างหนึ่งที่ขึ้นชื่อไม่แพ้กัน และของหวานที่ว่านั้นก็คือ “ขนมเค้กเมืองตรัง” หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “เค้กมีรู”“เค้กมีรู” ถือกำเนิดขึ้นครั้งแรกที่ ต.ลำภูรา อ.ห้วยยอด จ.ตรังในสมัยก่อนเป็นที่รู้จักกันในชื่อว่า “เค้กขุกมิ่ง” ได้ชื่อมาจาก ขุกมิ่ง แซ่เฮง เจ้าตำรับขนมเค้กตรัง ที่ได้เดินทางมาตั้งรกรากอยู่ที่จังหวัดตรัง โดยขุกมิ่งได้คิดทำขนมเค้กของตนเองเพื่อกินคู่กับกาแฟ โดยพัฒนาสูตรมาจากร้านขนมในอำเภอทับเที่ยง และคิดค้น พัฒนาต่อจนกลายมาเป็นขนมเค้กเมืองตรังเค้กขึ้นชื่อลือชาไปทั่วประเทศ ด้วยรสหอมหวานกลมกล่อมอย่างมีเอกลักษณ์มีหลายรสหลายกลิ่นหลายเจ้าให้เลือกได้ ตามใจชอบบรรจุกล่องสวยงามในราคากันเอง


                                            กะปิท่าข้าม ที่ทำจากกุ้งตัวเล็ก ๆที่ชาวบ้านเรียกว่า "ตัวเคย"ใช้เป็นเครื่องปรุงประกอบอาหารหรือตำน้ำพริกก็อร่อยไม่แพ้กัน  นำมาบดผ่านกรรมวิธี เป็นกะปิดีไม่มีปลอมปน จึงเป็นของดีขึ้นชื่อจังหวัดตรังที่นักท่องเที่ยวต้องซื้อกลับไปเป็นของฝากกันเลยทีเดียว


                                            หมุก อีกหนึ่งฝีมือจักสานเป็นภาชนะชนิดหนึ่งสำหรับใส่ของเล็ก ๆ น้อย ๆ ทำด้วยใบเตยสวน ทำเป็นตัวและฝาขนาดเท่า ๆ กันสวมกันได้พอดี มีทั้งชนิดนอนและตั้ง มักใช้ใส่ใบจากยาเส้นหรือใส่ของในครัวเช่น พริกแห้ง  หอม หรือเมล็ดพืชอื่น ๆเพราะหมุกปิดมิดชิด ระบายอากาศได้ไม่อับชื้น ชนิดยืนใส่ของได้มั่นคง ชนิดนอนพกติดตัวสะดวก ปัจจุบันมีผู้นิยมทำกระเป๋าสตางค์รู้สึกเก๋ดี ในท้องที่จังหวัดตรังมีทำอยู่ที่บ้านดุหุน ต.บ่อหิน อ.สิเกา บ้านทุ่งขี้เหล็ก ต.เขาไม้แก้ว อ.สิเกา โดยทั่วไปจะทำชนิดใส่ใบจากยาเส้น สำหรับคนสูบใบจาก หมุกชนิดนี้ใบใหญ่ขนาดใส่ใบจาก ยาเส้นไม้ขีดไฟได้ พกติดตัวสะดวก มีทั้งชนิดลายธรรมดา และประดิษฐ์ตัวอักษร อีกแบบหนึ่งขนาดเล็กกว่า ต้องสั่งพิเศษทำปราณีต มีตัวอักษร สำหรับทำกระเป๋าสตางค์าค่อนข้างสูง นอกจากใช้ใส่สิ่งของกันแล้ว ผู้ที่พบเห็นชอบในความสวยงาม ไว้เป็นของฝากของที่ระลึกกันมากกว่าชนิดตั้งมีขนาดต่าง ๆ  กันแล้วแต่ผู้ใช้ตั้งแต่ขนาดใส่พริกแห้งในครัวไปจนถึงใส่ข้าวเปลือก ข้าวโพดได้มาก ๆ วัสดุที่ใช้ทำใช้ใบเตยนำมาลนไฟพออ่อนตัว ขูดแล้วนำไปแช่น้ำเพื่อฟอกให้ขาว ตากน้ำค้าง จัดเป็นซี่เล็ก ๆ ย้อมสี เช่นเดียวกับเสื่อเตยเมื่อนำมาสานจะเล่นลายแบบใดก็แล้วแต่ผู้ทำจะคิดประดิษฐ์ให้สวยงาม บางครั้งสานเป็นตัวอักษรได้ด้วย ไว้เป็นของฝากของที่ระลึก ส่วนราคาก็ขึ้นอยู่กับความปราณีต ส่วนมากใบเล็ก ๆ มักทำปราณีตกว่าใบใหญ่ ราคาใบเล็กจึงแพงกว่า นอกจากหมุกใส่ใบจากแล้วยังมีหมุกแบบตั้งสำหรับใช้ใส่ของจุกจิกได้ด้วย บางแห่งเรียก ลูกปุก มีฝาปิดสวยงามหรืออาจจะทำเป็น กระเป๋าถือก็ได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการออกแบบซึ่งผลิตภัณฑ์ชนิดนี้ กำลังต้องการออกแบบมาสนับสนุนอย่างมาก เพื่อวิวัฒนาการตามสมัยนิยม ใส่ของพื้นบ้านจนถึงกระเป๋าถือและกระเป๋าสตางค์สีสันสวยงามผ่านการออกแบบให้ทันสมัยถูกใจผู้รับแน่นอน


                                            ผ้าทอนาหมื่นศรี ผ้าทอชั้นดีของเมืองตรังทำจากด้ายและไหมถักทอด้วยกี่กระตุกแบบพื้นบ้านมีลวดลายสีสันต่าง ๆ อีกทั้งสามารถประดิษฐ์เป็นตัวอักษรตาต้องการ ใช้เป็นผ้าตัดเสื้อผ้าเช็ดหน้าผ้าปูโต๊ะแล้วแต่จะดัดแปลงเป็นผ้าทอมือด้วยเทคนิคการเก็บ ตะกอ (การสร้างเส้นยืน) สร้างลวดลายด้วยการทอยกเขา เพื่อเสริมเส้นพุ่งพิเศษ ซึ่งเป็น การทอลวดลายแบบเดียวกับ การทอเทคนิค “ขิด” ในภาคอีสาน แต่ในภาคใต้จะเรียกผ้า ที่มีการยกตะกอทั้งหมดในท้องถิ่นว่า “ผ้ายก” มีแหล่งผลิต อยู่ที่หมู่บ้านนาหมื่นศรี อำเภอนาโยง จังหวัดตรัง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

บทความที่ได้รับความนิยม