animate animate animate animate animate animate animate animate animate animate animate animate animate animate
สถานที่ท่องเที่ยวในภาคใต้

ของดีประจําจังหวัดสุราษฎร์ธานี


ของดีประจำจังหวัดสุราษฏร์ธานี


     เป็นผลไม้ที่มีชื่อเสียงมากที่สุดของจังหวัดสุราษฎร์ธานี และของประเทศ เป็นเงาะที่มีรสชาติหวานและกรอบ ปลูกกันมากในจังหวัดสุราษฎร์ธานี ผลมีลักษณะโต เปลือกบาง แม้สุกจัดปลายเส้นขนยังมีสีเขียวลักษณะต้นเป็นพุ่มไม่สูง เงาะโรงเรียนมีประวัติเล่าว่า เมื่อปี พ.ศ. 2468 มีชาวจีนสัญชาติมาเลเซีย ชื่อนายเค วอง มีภูมิลำเนาอยู่ที่เมืองปินังประเทศมาเลเซีย ได้เดินทางเข้ามาทำเหมืองแร่ดีบุกที่หมู่บ้านเหมืองแกะ ตำบลนาสาร อำเภอบ้านนาสาร โดยสร้างบ้านพักเป็นเรือนไม้ 2 ชั้น ในที่ดินที่ซื้อจำนวน 18 ไร่ ใกล้ทางรถไฟด้านทิศตะวันตก ได้นำเมล็ดเงาะมาปลูกข้างบ้านพัก


     หอยนางรมสุราษฎร์ธานีเป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายในหมู่นักบริโภคว่า เป็นอาหารทะเลที่รสชาติขึ้นชื่อ คุณสมบัติที่สร้างคุณค่าหอยนางรมคือ เนื้อในขาวสะอาด รสออกหวาน ไม่มีกลิ่นคาว มีคุณค่าทางอาหารสูงหอยนางรมเริ่มเพาะเลี้ยงประมาณปี 2504 ทดลองเลี้ยงที่แหลมซุย อำเภอไชยา ต่อมาได้เพาะเลี้ยงที่บริเวณปากคลองท่าทอง และปากคลองกะแะ อำเภอกาญจนดิษฐ์ หอยนางรมมี 2 ชนิดคือ ชนิดพันธุ์เล็ก เรียกว่าหอยเจาะ ชนิดพันธุ์ใหญ่ เรียกว่าหอยตะโกรม ลักษณะเป็นหอยมี 2 ฝา พบทั่วไปบริเวณน้ำตื้นชายฝั่ง หอยนางรมจะออกวางไข่ตลอดปี แต่จะพบมากในระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ ถึงเดือนเมษายน หอยนางรมจะวางไข่ครั้งหนึ่งประมาณ 1-9 ล้านฟอง

     
     ไข่เค็มไชยา เป็นของฝากขึ้นชื่ออย่างหนึ่งของอำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี เนื่องจากใช้ไข่เป็ดธรรมชาติมาทำด้วยเทคนิคที่แตกต่างจากไข่เค็มถิ่นอื่น จึงเป็นไข่เค็มที่ไข่แดงสีแดงจัด มีรสชาติกลมกล่อมไม่เค็มจัด และอร่อยติดปากผู้ที่ได้ลองลิ้มชิมรสมาเป็นเวลายาวนาน ไข่แดง เป็นนามเรียกลักษณะของไข่เค็มไชยา ของดีขึ้นชื่อของ อ.ไชยา จ.สุราษฎร์ธานีซึ่งเป็นไข่เค็มที่มีชื่อเสียงกล่าวขวัญกันทั่วไป ไข่เค็มไชยาเป็นไข่เค็มที่ทำจากไข่เป็ดที่เลี้ยงในเขตอำเภอไชยา ซึ่งเป็นแหล่งเลี้ยงเป็ดขนาดใหญ่ ด้วยสภาพพื้นที่ที่เป็นทุ่งนา ทั้งยังติดกับชายฝั่งทะเลมีกุ้ง หอย ปู ปลาอุดมสมบูรณ์ อีกทั้งชาวบ้านยังเลี้ยงเป็ดโดยให้ข้าวเปลือกเป็นอาหารเสริมส่งผลให้ไข่เป็ดมีไข่แดงสีแดงจัด ไข่แดงมีมากกว่าไข่ขาว สีสันมันวาว รสมัน ไร้กลิ่นคาว ชวนรับประทานกลายเป็นเอกลักษณ์พิเศษของไข่เค็มไชยา เมื่อนำมาทำไข่เค็มตามสูตรที่สั่งสมกันมาแต่โบราณ จึงทำให้ไข่เค็มไชยาเป็นสินค้าที่เป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่งของชาวไชยา และชาวสุราษฎร์ธานี มีจำหน่ายทั่วไปในจังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยเฉพาะที่อำเภอไชยา กลายเป็นสินค้าที่ขึ้นชื่อของจังหวัดและเป็นที่รู้จักของคนทั่วไป


     การทอผ้าไหมพุมเรียงเป็นงานหัตถกรรม ที่ทำกันในหมู่บ้านไทยมุสลิม เข้าใจว่าแต่เดิมคงเป็นพวกแขกที่อพยพ หรือถูกกวาดต้อนมาจากไทรบุรี พร้อมๆ กับช่างทอผ้าที่เมืองนครศรีธรรมราชบ้างก็สันนิษฐานว่าไทยมุสลิมที่พุมเรียงอาจจะเป็นชาวปัตตานี เพราะอารยธรรมสูงกว่าที่อื่น แล้วมาอาศัยอยู่ที่ตำบลพุมเรียง การทอผ้าพุมเรียง ชาวบ้านไม่ได้เลี้ยงไหมเอง ไหมที่ใช้ทอเป็นไหมจากญี่ปุ่และสั่งซื้อจากกรุงเทพฯ โดยนิยมทอผ้าด้วยกี่กระตุก ลวดลายต่างๆที่ประดิษฐ์ขึ้นเป็นของชาวบ้านพุมเรียง โดยเฉพาะในปัจจุบัน มี 5 ลาย ได้แก่ ลายราชวัตร ลายดอกพิกุล ลาบดอกโคม ลายนพเก้า และลายยกเบ็ด

     ขนมจั้งนิยมทำกันมากในอำเภอไชยา เครื่องปรุงขนมชนิดนี้ ประกอบด้วยข้าวเหนียว น้ำ และน้ำด่างโดยนำข้าวเหนียวแช่น้ำด่างประมาณ 3-5 ชั่วโมง ต่อจากนั้น นำข้าวเหนียวมาห่อด้วยใบไผ่แนะห่อเสร็จเรียบร้อยแล้วนำจั้งไปต้มจนกว่าจะสุก ก็จะได้จั้งตามที่ต้องการ ส่วนใหญ่นิยมรับประทานกับน้ำเชื่อม หรือน้ำกะทิก็ได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

บทความที่ได้รับความนิยม