animate animate animate animate animate animate animate animate animate animate animate animate animate animate
สถานที่ท่องเที่ยวในภาคใต้

ของดีประจำจังหวัดพังงา



ของดีประจำจังหวัดพังงา
                     

1.ดอกไม้ประดิษฐ์จากยางพารา
                   จังหวัดพังงา  ถือเป็นจังหวัดแรกที่มีการนำใบยางพารามาประดิษฐ์เป็นดอกไม้ โดยในปี พ.ศ.2532คุณสาวิตรี เกษมศรี เคหกิจอำเภอตะกั่วทุ่ง ด้นำความรู้การประดิษฐ์ดอกไม้จากใบยางพารามาถ่ายทอดให้กับชาวบ้าน และได้จัดตั้งกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านเหนือ เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ.2537ต่อมาสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้พระราชทานชื่อเรียกดอกไม้ประดิษฐ์นี้ว่า “ศรีพังงา” สร้างความภาคภูมิใจให้กับชาวพังงาจนถึงทุกวันนี้ดอกไม้ประดิษฐ์จากยางพาราเป็นดอกไม้ประดิษฐ์ที่มีความประณีตสวยงาม และ เกิดขึ้นจากความคิดสร้างสรรค์ของแม่บ้านเกษตรกร จังหวัดพังงา ปัจจุบันเป็นสินค้าของที่ระลึกประจำจังหวัด หากเดินทางไปในตัวจังหวัดพังงาสามารถซื้อดอกไม้ประดิษฐ์นี้ได้ที่สำนักงานเกษตรกรผลิตภัณฑ์ดอกไม้จากใบยางพารา เช่น ทำเป็นดอกลิลลี่, อกพวงแสด,ดอกรักเร่, ดอกยิบโซ, ดอกศรีพังงา นอกจากนี้ ยังมีการพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ที่หลากหลายขึ้น ได้แก่ของชำร่วย, ที่คั่นหนังสือ, พวงกุญแจ, กิ๊บติดผม, ผีเสื้อจากใบยางพารา, ตุ๊กตา, มู่ลี่, พวกหรีด, ดอกไม้จันทน์ เป็นต้น ตลาดหลักของดอกไม้จากใบยางพารา มีที่จังหวัดภูเก็ตบางส่วนส่งไปจำหน่ายยังต่างประเทศ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา,ออสเตรเลีย, ญี่ปุ่น ส่วนที่จังหวัดสงขลามีผู้มารับไปจำหน่ายในประเทศมาเลเซีย


2.ขนมเต้าส้อ
                 เริ่มจากนายเชียวสูย ลิ่มสกุึลได้พาลูกชายชื่อ นายฉายเอี่ยน ลิ่มสกุล อายุ 16 ปี อพยพมาจากประเทศจีนตั้งแต่วันที่ 25 ธันวาคม 2450 โดยได้มาอาศัยอยู่ที่ บางม่วง อ.ตะกั่วป่า จ.พังงา พร้อมทั้งมีภรรยาใหม่เป็นลูกคนจีนที่มีฝีมือทางด้านการทำขนมต่างๆ  โดยเฉพาะขนมเต้าส้อที่มีนายฉายเอี่ยนบุตรชายคอยเป็นผู้ช่วยในการทำขนม ต่อมานายฉายเฉี่ยนก็ได้แต่งงานกับลูกคนจีนที่ต.บางม่วงแล้วมีลูกด้วยกัน 6 คนและเมื่อแม่เลี้ยง (ภรรยาใหม่ของนายเชียวฉุย)เสียชีวิต นายฉายเฉี่ยน ก็ได้กลายเป็นผู้สืบทอดการทำขนมเต้าส้อแต่เพียงผู้เดียว เมื่อนายฉายเฉี่ยนได้ย้ายมาอยู่ที่ต.ตลาดเหนือ  ก็ได้เปิดโรงงานขนมและขยายกิจการใหญ่ขึ้นเรื่อย และมีลูกๆหลายคนเป็นผู้ช่วยทำ
 ปัจจุบันนางตวงรัตน์ คชินทร์รัตน์ลูกสาวของนางหล่ำจิ้ว (บุตรของนายฉายเอี่ยน) ได้ทำหน้าที่สืบทอดเจตนารมณ์ในการทำขนมของบรรพบุรุษและได้พัฒนาขนมเต้าส้อให้มีความหลากหลายและเป็นที่รู้จักในวงกว้างมากขึ้น


3.กะปิ
                   กะปิ เป็นอาหารที่คิดขึ้นโดยชาวประมง เพราะต้องการจะดองกุ้งที่จับมาได้เพื่อเก็บไว้รับประทานได้ในระยะเวลานาน ซึ่งนับเป็นภูมิปัญญาการถนอมอาหารพื้นบ้าน หรืออีกเหตุผลอาจมาจากชาวบ้านขายกุ้งได้ไม่หมด จึงนำมาดองเอาไว้ แต่ไม่ว่าจะเป็นเหตุผลใด กะปิถูกจัดเป็นตำรับอาหารของชาวเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แล้วยังกลายมาเป็นหนึ่งในวัฒนธรรมอาหารในทุกครัวเรือนในประเทศไทย มีกะปิมากมายหลายชนิดให้เลือกรับประทาน กะปิแต่ละชนิดจะมีความแตกต่างกัน ทั้งคุณภาพ วัตถุดิบ กรรมวิธีผลิต ตามแต่ละท้องถิ่นนั้น โดยส่วนใหญ่ทำจากกุ้งเคย  ซึ่งมีมากในแทบชายฝั่งทะเลอันดามัน  จึงทำให้ชาวบ้านที่อาศัยในพื้นที่ชายฝั่งติดกับทะเลมีการผลิตกะปิ
กันหลายแห่ง กะปิ ทำมาจากสัตว์ที่ไม่มีกระดูกสันหลัง รูปร่างคล้ายกุ้ง ที่เรียกว่า "เคย" (Opossum shrimp) มีขนาดความยาว ประมาณ 1.5เซนติเมตร มีเปลือกบางและนิ่ม อาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูง ใกล้ผิวทะเลโดยไม่จมลงไป จะอยู่ในน้ำลึกประมาณหน้าแข้งถึงระดับหน้าอก
ตามชายทะเลและลำคลองบริเวณป่าชายเลน ทั้งนี้ เนื่องจากบริเวณดังกล่าวเป็นแหล่งอาหารที่สมบูรณ์ที่สำคัญในทางโภชนาการระบุว่า
 ตัวเคยให้คุณค่าทางโภชนาการสูงมีประโยชน์ต่อร่างกายมนุษย์จึงเป็นสัตว์เศรษฐกิจซึ่งหาได้จากธรรมชาติ แล้วนำมาทำกะปิหรือกุ้งแห้งจำหน่ายสร้างรายได้แก่ชาวบ้านพังงา เป็นแหล่งผลิตกะปิจากตัวเคยหรือกุ้งฝอยที่มีชื่อเสียงอีกจังหวัดในภาคใต้  อีกทั้งยังมีการผลิตกุ้งเสียบออกไปจำหน่ายภายในจังหวัดและจังหวัดใกล้เคียงการทำกะปิจากกุ้งเคยนับเป็นวิถีชีวิตของชาวจังหวัดพังงาเกือบทุกอำเภอ เพราะทำมาเป็นระยะเวลาที่ยาวนาน  ตั้งแต่บรรพบุรุษ  ปัจจุบันนี้การทำกะปิของชาวจังหวัดพังงายังคงทำสืบเนื่องต่อไป  จึงถือได้ว่าเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของการปรุงอาหารประเภทต่างๆ เช่น แกงเผ็ด แกงพริก แกงส้ม แกงไตปลา แกงกะทิ และทำน้ำพริกชนิดต่างๆ สิ่งสำคัญของการทำกะปิต้องนำกุ้งเคยที่สดและสะอาดมาทำ จึงจะได้กะปิที่มีรสชาติอร่อยและมีกลิ่นหอม พังงามีแหล่งผลิตกะปิจากกุ้งฝอยที่มีชื่อเสียงหลายแห่ง เช่น กะปิเกาะยาว กะปิเกาะปันหยี และยังผลิตกุ้งเสียบออกไปจำหน่ายจังหวัดใกล้เคียงด้วย สามารถหาซื้อเป็นของฝากได้ที่ตลาดสดในอำเภอเมือง หรือตลาดสดในอำเภอตะกั่วทุ่ง


4.ลูกจัน/จันทน์เทศ
                  "ลูกจัน/จันทน์เทศ"มีชื่อพื้นบ้านว่า ลูกจัน จันทร์เทศจันทน์บ้านมีชื่อเรียกในภาษาอังกฤษว่า เมซ  และนัทเม็จ "ลูกจัน/จันทน์เทศ"มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่าไมร์ริชติคาฟราแกรนส์จัดอยู่ในวงศ์ไมร์ริชติคาซีอี้ ต้นจันทน์เทศสามารถขึ้นได้ในสภาพของดินเกือบทุกชนิด แต่ดินที่เหมาะสมควรเป็นดินร่วนปนทราย ที่มีอินทรีย์วัตถุสูงต้นจันทน์เทศสามารถเจริญได้ดีในเขตภูมิอากาศร้อนชื้ต้องการปริมาณน้ำฝนปีละ 2,000-2,500มิลลิเมตร สามารถขึ้นได้ในพื้นที่ที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเลจนถึงความสูงประมาณ900เมตร ลูกจันทน์เทศเชื่อมเป็นของฝากขึ้นชื่ออีกอย่างหนึ่งของพังงาที่ใครผ่านมาก็ต้องซื้อหากลับไปเป็นของฝาก เพราะลูกจันทร์เชื่อมเป็นของอร่อย มีรสชาติแตกต่างไปจาก
ผลไม้ชนิดอื่น ๆ ตรงที่มีรสชาติหวานซ่า หากได้ผ่านไปทางบ้านถ้ำน้ำผุดก็สามารถแวะซื้อหาได้แทบทุกครัวเรือนในแถบนี้ ซึ่งจะมีขายเกือบตลอดทั้งปี


5. ลูกชก
                 ลูกชก เป็นต้นไม้ลักษณะคล้ายต้นปาล์ม ชอบขึ้นตามแนวภูเขาหิน มีลำต้นตรง โตเต็มที่จะมีขนาดใหญ่กว่าต้นตาล สูงประมาณ 20-25 เมตร ใบยาวประมาณ 3เมตร คล้ายใบมะพร้าวแต่ใหญ่กว่าและแข็งแรงกว่า ก้านใบ ทางใบเหยียดตรงกว่ามะพร้าว มีรกสีดำตามกาบใบหนาแน่น ดอกหรืองวงของต้นชก จะออกบริเวณส่วนบนใกล้ยอดของลำต้น มีก้านดอกห้อยเป็นพวงยาว 3-5 เมตร ผลคล้ายลูกตาลขนาดจิ๋ว ออกผลเป็นทะลายเนื้อ ภายในผลมี 3 เมล็ดต้นตัวเมียปีหนึ่งให้ดอกออกผล 1 ครั้ง ในช่วงเดือนมกราคม-พฤษภาคม ส่วนต้นตัวผู้มีดอกแต่ไม่มีผล ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด  แต่จะเจริญเติบโตได้ดีในพื้นที่เชิงเขา  หรือเนินเขาเตี้ยๆ ในป่าเขตร้อนชื้นมีมากเป็นพิเศษในพื้นที่
ต.บางเตย อ.เมืองพังงาชาวบ้านที่มีความชำนาญในการปีนป่ายจะขึ้นไปตัดเอาผลของลูกชกลงมา ท่ามกลางเสียงร้องเพลงให้กำลังใจ
เชียร์ของเพื่อนบ้านที่อยู่ใต้ต้นเป็นประเพณีประจำถิ่น ที่เชื่อว่าต้นชกจะให้ผลผลิตดี หากมีเสียงเพลงให้ความรักความเอาใจใส่ดูแลต้นชก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

บทความที่ได้รับความนิยม